แนวทางการลดความขัดแย้งระหว่างชุมชนและสังคมกับการทำเหมืองแร่

    ปัญหาส่วนใหญ่ระหว่างผู้ประกอบการเหมืองแร่กับชุมชนท้องถิ่นจะเกิดขึ้นเมื่อมีทัศนคติของการเผชิญหน้าต่อกันมากกว่าที่จะให้ความร่วมมือกัน การสื่อสารที่ดีจึงมีความสำคัญเพื่อให้มั่นใจว่าผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ทราบว่าข้อกังวลของพวกเขาได้รับการดำเนินการอย่างจริงจังและจะถูกนำไปดำเนินงานและได้รับการสนับสนุนโดยผู้ประกอบการเหมืองแร่ที่อยู่ในชุมชนอย่างเหมาะสม (เช่น สนับสนุนทางด้านการเงิน แหล่งทรัพยากรทางการศึกษาหรือสถานที่พักผ่อนหน่อยใจ)


รายละเอียดบทความ

1. บทนำ

ผู้อยู่อาศัยในชุมชนสามารถได้รับผลกระทบโดยการพิจารณาจากผลกระทบที่เป็นไปได้ทั้งหมดในพื้นที่โครงการ ในหลักการวางแผนการใช้แร่ที่เกี่ยวข้องกับประชาชนในท้องถิ่น ข้อเสนอโครงการสำหรับการทำเหมืองแร่จะได้รับอนุญาต ถ้ามันแสดงให้หน่วยงานวางแผนการใช้แร่มีความเข้าใจและยอมรับในเนื้อหาสาระของผลกระทบทั้งหมด ด้วยเหตุผลว่า ผลกระทบด้านการจราจร ผลกระทบต่อทัศนียภาพ เสียง ฝุ่น การระเบิด ก๊าซจากการฝังกลบ มลพิษ กลิ่นหรือปัจจัยอื่นๆ ที่นำไปสู่การสูญเสียหรือทำความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลเสียต่อคนสามารถจำกัดหรือลดให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ในการประเมินข้อเสนอโครงการทำเหมืองแร่จะคำนึงถึง ขอบเขตซึ่งปัจจัยเหล่านั้นสามารถควบคุมได้ที่สอดคล้องกับการปฏิบัติที่ดีในปัจจุบันและมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ ซึ่งแต่ละผลกระทบสามารถทำให้ลดลงได้ แต่ผลกระทบบางอย่างไม่สามารถทำให้ลดลงมาได้อย่างสมบูรณ์ ผลกระทบที่เกิดจากการสะสมของผลกระทบต่างๆที่มีต่อบุคคลหรือชุมชนมีความสำคัญมาก ระดับของผลกระทบที่พวกเรามีความกังวลจะเกี่ยวกับระดับที่ซึ่งประชาชน จะรู้สึกถูกระตุ้นให้คัดค้านไม่เห็นด้วย ต่อว่าต่อขาน หรือร้องเรียน ปกติมักจะเป็นเพราะมันมีผลกระทบต่อความสงบสุขของพวกเขา มันรบกวนบางส่วนของชีวิตพวกเขาที่คาดหวัง ว่าผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมควรต้องเหลือน้อยกว่าจุดนี้ แต่ว่าเป็นไปไม่ได้เสมอไป การคัดค้านจึงสามารถเกิดขึ้นได้ในขั้นตอนการขออนุญาตและมักจะเป็นผลมาจากความหวาดกลัวหรือการต่อต้านต่อการเปลี่ยนแปลง การร้องเรียนอาจเริ่มเกิดขึ้นเมื่อการดำเนินการได้เริ่มต้นและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสามารถรู้สึกได้ แต่บ่อยครั้งที่มีการคัดค้านกันอย่างมากเกี่ยวกับข้อเสนอโครงการทำเหมืองแร่ ซึ่งเมื่อมีการเริ่มเปิดดำเนินการแล้วกลับก่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด และไม่มีการร้องเรียน (รายละเอียดทั้งหมดตามเอกสารเเนบ)

 

วันที่ปรับปรุง:2555-11-06

เอกสารแนบ: แนวทางการลดความขัดแย้ง
 
 

Visitor Number
5286115
 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
::
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ::
75/10 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร.0-2202-3554, 0-2202-3557 โทรสาร.0-2202-3555
[ที่ตั้งกรมฯ]