เหมืองแร่กับสิทธิชุมชน

     บทความชิ้นนี้พยายามสรุปให้เห็นสถานการณ์ของการประกอบธุรกิจเหมืองแร่ในปัจจุบันที่สัมพันธ์กับกระบวนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมกระบวนการพัฒนาดังกล่าวได้นำไปสู่ความขัดแย้งในหลายๆด้าน


รายละเอียดบทความ

     บทความชิ้นนี้พยายามสรุปให้เห็นสถานการณ์ของการประกอบธุรกิจเหมืองแร่ในปัจจุบันที่สัมพันธ์กับกระบวนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมกระบวนการพัฒนาดังกล่าวได้นำไปสู่ความขัดแย้งในหลายๆด้าน เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชน การทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของกฎหมาย ทั้งพระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อมปี พ.ศ 2535 พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 และกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 รวมทั้งประเด็นเรื่องของการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และการจัดทำรายงานผลกระทบทางด้านสุขภาพ (เอชไอเอ) ที่เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการต่อสู้เคลื่อนไหวภาคประชาชน แต่กระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่สามารถนำไปสู่การตัดสินใจเชิงนโยบายของชาวบ้านในพื้นที่ได้อย่างชัดเจน และหลายกรณีที่กระบวนการทำรายงานเหล่านี้กลายเป็นเครื่องมือของกลุ่มทุนทั้งในและต่างประเทศในการผลักดันโครงการ ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งและรุนแรงในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น
(รายละเอียดดังเอกสารเเนบ)
 

วันที่ปรับปรุง:2557-07-03

เอกสารแนบ: เรื่องเหมืองแร่กับสิทธิชุมชน
 
 

Visitor Number
5235813
 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
::
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ::
75/10 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร.0-2202-3554, 0-2202-3557 โทรสาร.0-2202-3555
[ที่ตั้งกรมฯ]