การตรวจสอบ คุณภาพน้ำ
 อปท. หนองข้างคอก
 อำเภอ เมือง
 จังหวัด ชลบุรี
 เลขที่ประทานบัตร 21353/1559
 ลำดับที่ 1
 เรื่อง ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน เมื่อวันที่ 30เมษายน2550
 รายละเอียด
 

เรื่อง ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำผิวดิน จำนวน 2 สถานี

 

1. บริเวณจุดตรวจวัดน้ำห้วยกะปิ

·        ผลจากการตรวจวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH )เท่ากับ 6.75 (ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 5.0-9.0)

·        ผลจากการตรวจวัดค่าของแข็งแขวนลอย (Total Suspended Solids) เท่ากับ 42.5 มิลลิกรัมต่อลิตร (ไม่ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน)

·        ผลจากการตรวจวัดค่าสารละลายทั้งหมด (Total Dissolved Solids) เท่ากับ 163 มิลลิกรัมต่อลิตร  (ไม่ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน)

·        ผลจากการตรวจวัดค่าความกระด้างทั้งหมด (Total Hardness) มีค่าเท่ากับ 102.37 มิลลิกรัมต่อลิตร as CaCO3 (ไม่ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน)

·        ผลจากการตรวจวัดค่าความขุ่น (turbidity) เท่ากับ 99 NTU (ไม่ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน)

·        ผลจากการตรวจวัดปริมาณซัลเฟต (Sulfate) เท่ากับ 50 มิลลิกรัมต่อลิตร (ไม่ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน)

·        ผลจากการตรวจวัดปริมาณเหล็กทั้งหมด (Total Iron) มีค่า 1.57 มิลลิกรัมต่อลิตร  (ไม่ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน)

     

2.บริเวณจุดตรวจวัดน้ำบ่อตะเคียน

 

·        ผลจากการตรวจวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH )เท่ากับ 6.97 (ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 5.0-9.0)

·        ผลจากการตรวจวัดค่าของแข็งแขวนลอย (Total Suspended Solids) เท่ากับ 4 มิลลิกรัมต่อลิตร (ไม่ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน)

·        ผลจากการตรวจวัดค่าสารละลายทั้งหมด (Total Dissolved Solids) เท่ากับ 308 มิลลิกรัมต่อลิตร  (ไม่ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน)

·        ผลจากการตรวจวัดค่าความกระด้างทั้งหมด (Total Hardness) มีค่าเท่ากับ 240.89 มิลลิกรัมต่อลิตร as CaCO3 (ไม่ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน)

·        ผลจากการตรวจวัดค่าความขุ่น (turbidity) เท่ากับ 6.22 NTU (ไม่ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน)

·        ผลจากการตรวจวัดปริมาณซัลเฟต (Sulfate) เท่ากับ 0.39 มิลลิกรัมต่อลิตร (ไม่ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน)

·        ผลจากการตรวจวัดปริมาณเหล็กทั้งหมด (Total Iron) มีค่า 0.39 มิลลิกรัมต่อลิตร  (ไม่ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน)

 

สรุปได้ว่า จากการวิเคราะห์คุณภาพน้ำผิวดิน จำนวน 2 สถานี คือ บริเวณจุดตรวจวัดน้ำห้วยกะปิและบริเวณจุดตรวจวัดน้ำบ่อตะเคียน มีค่าดัชนีการตรวจวัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน (ประเภทที่ 3 ) แต่หากจะนำน้ำมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคจะต้องผ่านการฆ่าเชื้อตามปกติ และผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำทั่วไปก่อน

 

เรื่อง ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำใต้ดิน จำนวน 5 สถานี

3.ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำบาดาลวัดเขาเชิงเทียน ดังนี้

  • ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ 6.86 (ไม่อยู่ในเกณฑ์กำหนดที่เหมาะสมแต่อยู่ในเกณฑ์อนุโลมสูงสุด)

·         ผลจากการตรวจวัดค่าของแข็งแขวนลอย (Suspended Solids) เท่ากับ 3 มิลลิกรัมต่อลิตร (ไม่ได้กำหนดมาตรฐาน)

·         ผลจากการตรวจวัดค่าสารทั้งหมดที่ละลายได้ (Total Dissolved Solids) เท่ากับ 723 มิลลิกรัมต่อลิตร (ผ่านเกณฑ์มาตรฐานกำหนด)

  • ผลจากการตรวจวัดค่าความกระด้างทั้งหมด (Total Hardness) มีค่าเท่ากับ 606.78 มิลลิกรัมต่อลิตร  as CaCO3 (ไม่อยู่ในเกณฑ์กำหนดที่เหมาะสมและไม่อยู่ในเกณฑ์อนุโลมสูงสุด)

·         ผลจากการตรวจวัดค่าความขุ่น (turbidity) น้อยกว่า 0.01 NTU (ผ่านเกณฑ์มาตรฐานกำหนด)

·         ผลจากการตรวจวัดปริมาณเหล็กทั้งหมด (Total Iron) เท่ากับ 0.03 มิลลิกรัมต่อลิตร  (ผ่านเกณฑ์มาตรฐานกำหนด)

·         ผลจากการตรวจวัดปริมาณซัลเฟต (Sulfate) เท่ากับ 218 มิลลิกรัมต่อลิตร (ไม่ผ่านเกณฑ์กำหนดที่เหมาะสมแต่ผ่านเกณฑ์อนุโลมสูงสุด)

 

   4. ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำบ่อตื้นบ้านไร่ไหหลำ ดังนี้

  • ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ  6.80 (ไม่อยู่ในเกณฑ์กำหนดที่เหมาะสมแต่อยู่ในเกณฑ์อนุโลมสูงสุด)

·         ผลจากการตรวจวัดค่าของแข็งแขวนลอย (Suspended Solids) น้อยกว่า 0.2   มิลลิกรัมต่อลิตร (ไม่ได้กำหนดมาตรฐาน)

·         ผลจากการตรวจวัดค่าความกระด้างทั้งหมด (Total Hardness) มีค่าเท่ากับ 265.89 มิลลิกรัมต่อลิตร  as CaCO3 (อยู่ในเกณฑ์กำหนดที่เหมาะสม)

·         ผลจากการตรวจวัดค่าความขุ่น (turbidity) น้อยกว่า 0.01 NTU (อยู่ในเกณฑ์กำหนดที่เหมาะสม)

·         ผลจากการตรวจวัดปริมาณเหล็กทั้งหมด (Total Iron) มีค่าเท่ากับ 0.13   มิลลิกรัมต่อลิตร  (ผ่านเกณฑ์มาตรฐานกำหนด)

·         ผลจากการตรวจวัดปริมาณซัลเฟต (Sulfate) เท่ากับ  134.5  มิลลิกรัมต่อลิตร (ผ่านเกณฑ์มาตรฐานกำหนด)

 

5. ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำบ่อตื้นบ้านในหุบ ดังนี้

  • ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ  6.58 ( ไม่อยู่ในเกณฑ์กำหนดที่เหมาะสมแต่อยู่ในเกณฑ์อนุโลมสูงสุด)

·         ผลจากการตรวจวัดค่าของแข็งแขวนลอย (Suspended Solids) เท่ากับ 1   มิลลิกรัมต่อลิตร (ไม่ได้กำหนดมาตรฐาน)

  • ผลจากการตรวจวัดค่าสารทั้งหมดที่ละลายได้ (Total Dissolved Solids) เท่ากับ  1,318  มิลลิกรัมต่อลิตร (ไม่อยู่ในเกณฑ์กำหนดที่เหมาะสมแต่อยู่ในเกณฑ์อนุโลมสูงสุด)

·         ผลจากการตรวจวัดค่าความกระด้างทั้งหมด (Total Hardness) มีค่าเท่ากับ  990.85 มิลลิกรัมต่อลิตร  as CaCO3 (ไม่อยู่ในเกณฑ์กำหนดที่เหมาะสมและไม่อยู่ในเกณฑ์อนุโลมสูงสุด)

·         ผลจากการตรวจวัดค่าความขุ่น (turbidity) เท่ากับ  0.34  NTU (ผ่านเกณฑ์มาตรฐานกำหนด)

·         ผลจากการตรวจวัดปริมาณเหล็กทั้งหมด (Total Iron) มีค่าเท่ากับ 0.05  มิลลิกรัมต่อลิตร  (ผ่านเกณฑ์มาตรฐานกำหนด)

·         ผลจากการตรวจวัดปริมาณซัลเฟต (Sulfate) เท่ากับ 58 มิลลิกรัมต่อลิตร (ผ่านเกณฑ์มาตรฐานกำหนด)

 

   6. ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำบาดาลบ้านไหหลำ ดังนี้

  • ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ 7.13 ( อยู่ในเกณฑ์กำหนดที่เหมาะสมและอยู่ในเกณฑ์อนุโลมสูงสุด)

·         ผลจากการตรวจวัดค่าของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (Total Suspended Solids) เท่ากับ 2  มิลลิกรัมต่อลิตร (ไม่ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน)

  • ผลจากการตรวจวัดค่าสารทั้งหมดที่ละลายได้ (Total Dissolved Solids) เท่ากับ   677  มิลลิกรัมต่อลิตร (อยู่ในเกณฑ์กำหนดที่เหมาะสม)
  • ผลจากการตรวจวัดค่าความกระด้างทั้งหมด (Total Hardness) มีค่าเท่ากับ  406.79  มิลลิกรัมต่อลิตร  as CaCO3 (ไม่อยู่ในเกณฑ์กำหนดที่เหมาะสมแต่อยู่ในเกณฑ์อนุโลมสูงสุด)

·         ผลจากการตรวจวัดค่าความขุ่น (turbidity) น้อยกว่า 0.01  NTU (ผ่านเกณฑ์มาตรฐานกำหนด)

·         ผลจากการตรวจวัดปริมาณเหล็กทั้งหมด (Total Iron) มีค่าเท่ากับ 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร  (อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม)

·         ผลจากการตรวจวัดปริมาณซัลเฟต (Sulfate) เท่ากับ   58  มิลลิกรัมต่อลิตร (ผ่านเกณฑ์มาตรฐานกำหนด)

 

   7. ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำบ่อตื้นบ้านซากพุดซา ดังนี้

  • ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ 8.11 ( อยู่ในเกณฑ์กำหนดที่เหมาะสมและอยู่ในเกณฑ์อนุโลมสูงสุด)

·         ผลจากการตรวจวัดค่าของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (Total Suspended Solids) เท่ากับ 5.5 มิลลิกรัมต่อลิตร (ไม่ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน)

  • ผลจากการตรวจวัดค่าสารทั้งหมดที่ละลายได้ (Total Dissolved Solids) เท่ากับ 821  มิลลิกรัมต่อลิตร (ไม่อยู่ในเกณฑ์กำหนดที่เหมาะสมแต่อยู่ในเกณฑ์อนุโลมสูงสุด)
  • ผลจากการตรวจวัดค่าความกระด้างทั้งหมด (Total Hardness) มีค่าเท่ากับ  586.33  มิลลิกรัมต่อลิตร  as CaCO3 (ไม่อยู่ในเกณฑ์กำหนดที่เหมาะสมและไม่อยู่ในเกณฑ์อนุโลมสูงสุด)

·         ผลจากการตรวจวัดค่าความขุ่น (turbidity) เท่ากับ  0.36  NTU (ผ่านเกณฑ์มาตรฐานกำหนด)

·         ผลจากการตรวจวัดปริมาณเหล็กทั้งหมด (Total Iron) มีค่าเท่ากับ 0.06  มิลลิกรัมต่อลิตร  (ผ่านเกณฑ์มาตรฐานกำหนด)

·         ผลจากการตรวจวัดปริมาณซัลเฟต (Sulfate) เท่ากับ 78   มิลลิกรัมต่อลิตร (ผ่านเกณฑ์มาตรฐานกำหนด)

 

สรุปได้ว่าจากการตรวจวัดคุณภาพน้ำใต้ดินทั้ง 5 สถานี คือ น้ำบาดาลวัดเขาเชิงเทียน , น้ำบ่อตื้นบ้านไร่ไหหลำ,น้ำบ่อตื้นบ้านในหุบ,น้ำบาดาลบ้านไหหลำ,น้ำบ่อตื้นบ้านซากพุดซา พบว่าดัชนีส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำบาดาล ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 12 ของเกณฑ์อนุโลมสูงสุด ยกเว้นน้ำบาดาลวัดเขาเชิงเทียน, น้ำบ่อตื้นบ้านซากพุดซา และน้ำบ่อตื้นบ้านในหุบ  ที่มีค่าความกระด้างสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานกำหนด สาเหตุมาจากองค์ประกอบของหินปูนที่มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบของชั้นหิน ซึ่งเป็นชั้นเดียวกับชั้นน้ำใต้ดิน แต่อย่างไรก็ตามแหล่งน้ำดังกล่าว ไม่ได้นำมาเพื่อการบริโภค จึงไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนมากนัก

 

หมายเหตุ: *มาตรฐานคุณภาพน้ำบาดาลที่ใช้บริโภคได้ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 12(พ.ศ.2542) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการทางวิชาการสำหรับการป้องกันด้านสาธารณสุขและป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

 

มาตรฐานคุณภาพน้ำบาดาล

เกณฑ์กำหนดที่เหมาะสม

เกณฑ์อนุโลมสูงสุด

ความเป็นกรด-ด่าง(pH)

7.0 - 8.5

6.5 - 9.2

ปริมาณสารแขวนลอย (Suspended Solids)

ไม่ได้กำหนด

ไม่ได้กำหนด

ปริมาณสารทั้งหมดที่ละลายน้ำ(Total Dissolved Solids)

600 มิลลิกรัมต่อลิตร

1,200 มิลลิกรัมต่อลิตร

ความกระด้างทั้งหมด          (Total Hardness)

300 มิลลิกรัมต่อลิตร as CaCO3

500 มิลลิกรัมต่อลิตร

as CaCO3

ค่าความขุ่น (Turbidity)

5 NTU

20 NTU

ปริมาณเหล็กทั้งหมด       (Total Iron)

0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร

1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร

ซัลเฟต (Sulfate)

200 มิลลิกรัมต่อลิตร

250 มิลลิกรัมต่อลิตร

 

                  * มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน  ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) แหล่งน้ำประเภท 3

 

                * มาตรฐานคุณภาพน้ำบาดาลที่ใช้บริโภคได้ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 12(พ.ศ. 2542)เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการทางวิชาการสำหรับการป้องกันทางด้านสาธารณสุขและป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

 

 สถานที่ตรวจวัด 1. น้ำบาดาลวัดเขาเชิงเทียน 2.น้ำบ่อตื้นบ้านไร่ไหหลำ 3.น้ำบ่อตื้นบ้านในหุบ 4. น้ำบาดาลบ้านไหหลำ 5.น้ำบ่อตื้นบ้านซากพุดซา
 โดย บริษัท เอ บี อี เอ็น เอ็นจิเนียริง คอนซัลแตนท์ จำกัด และ บริษัท จี อี ซี คอนซัลแตนท์ จำกัด
 รูป
 เอกสารแนบ
 
 

Visitor Number
5291134
 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
::
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ::
75/10 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร.0-2202-3554, 0-2202-3557 โทรสาร.0-2202-3555
[ที่ตั้งกรมฯ]