การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของชุมชน

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
รัฐธรรมมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้กำหนดให้ ภาครัฐกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นเพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้เข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการและดูแลท้องถิ่นของตนเอง
 


รายละเอียดบทความ

การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของชุมชน


กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

   รัฐธรรมมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้กำหนดให้ ภาครัฐกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นเพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้เข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการและดูแลท้องถิ่นของตนเอง 


   ในปี พ.ศ. 2546  กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ได้ดำเนินการกระจายอำนาจโดยได้ถ่ายโอนภารกิจด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมืองแร่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ได้แก่ อบต. หรือเทศบาล  โดยมีภารกิจที่ถ่ายโอน 2 ภารกิจ  ดังนี้


1.  การติดตามและตรวจสอบเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและมลพิษในการประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 และกิจกรรมต่อเนื่อง มีขอบเขตการถ่ายโอน 3 ข้อ  คือ


  1.1  ตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม


  1.2  ติดตามเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม


  1.3  การดำเนินงานโครงการป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและโครงการฟื้นฟูพื้นที่ที่ผ่านทำเหมืองแร่แล้ว


2.  การดำเนินการตามกฎหมาย  มีขอบเขตการถ่ายโอน  2  ข้อ  คือ


  2.1  การมีส่วนร่วมให้ความเห็นในการพิจารณาอนุญาตการประกอบกิจการ


  2.2  การให้ความเห็น/คำแนะนำและการรายงานข้อเท็จจริงต่อผู้มีอำนาจตามกฎหมาย


   โดยมีการแต่งตั้งให้เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2510 ให้สามารถเข้าไป ตรวจสอบในพื้นที่ทำเหมืองแร่ได้และจัดทำรายงานให้ กพร.ทราบในข้อ 1.1 และ 1.2


               กำกับดูแลอย่างทั่วถึง     เป็นที่พึ่งให้คำปรึกษา
           ส่งเสริมการพัฒนา        นำพาสู่มาตรฐานสิ่งแวดล้อม
  

   ในขณะเดียวกันกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ได้จัดการฝึกอบรมให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง  เพื่อเสริมสร้างความพร้อมให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถปฏิบัติภารกิจด้านการจัดการทรัพยากรแร่และสิ่งแวดล้อมเหมืองแร่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  รวมทั้ง กพร. ได้มีการติดตาม ให้คำแนะนำแก่ อปท. อย่างใกล้ชิดทำให้ได้รับทราบปัญหา และข้อเสนอแนะมาปรับปรุง ทั้งนี้ กพร. ได้ถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเฉพาะที่มีประทานบัตรเหมืองแร่ จำนวน  450 แห่ง  และคำขอประทานบัตรจำนวน 205 แห่ง  ตั้งอยู่ใน 58 จังหวัด  ได้มีการรายงานตามแบบรายงานตามภารกิจแล้ว  กว่าร้อยละ  70 ใน 56 จังหวัด  


   ปี พ.ศ. 2550 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ได้ดำเนินการส่งเสริมการมีส่วนร่วมให้แก่ประชาชนในพื้นที่ที่มีการทำเหมืองแร่ และบริเวณใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจกรรมเหมืองแร่  เพื่อช่วยกันเฝ้าระวังผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการทำเหมืองแร่ตลอดจนร่วมแก้ไขปัญหาเพื่อให้มีการพัฒนาเหมืองแร่ควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ได้เริ่มดำเนินการแล้วที่ จ. สระบุรี       จ. อุบลราชธานี  และจ. ประจวบคีรีขันธ์  ซึ่งจะได้ขยายสู่จังหวัดต่างๆให้ครอบคลุมต่อไป  
                                                                        
     กลุ่มส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อม  สำนักบริหารสิ่งแวดล้อม   
     โทร. 02-2023741, 02-3543511  

 

วันที่ปรับปรุง:2553-01-26

เอกสารแนบ: การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของชุมชน
 
 

Visitor Number
5263717
 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
::
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ::
75/10 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร.0-2202-3554, 0-2202-3557 โทรสาร.0-2202-3555
[ที่ตั้งกรมฯ]