รายงานการเจาะสำรวจโพรงเกลือและหลุมยุบระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2546-2548

  กลุ่มตรวจสอบและประเมินผลแหล่งแร่ สรส. ร่วมกับหน่วยเจาะ ฝ่ายโยธา กองวิศวกรรมบริการ ได้เจาะสำรวจศึกษาการเกิดโพรงเกลือใต้ดิน เพื่อหาขอบเขตของหลุมยุบ และเฝ้าระวังภัยหลุมยุบ ความลึก 100-200 เมตร และทำเป็นบ่อสังเกตการณ์ ศึกษาลักษณะการไหลเวียนของน้ำเกลือ

 


รายละเอียดบทความ

  กลุ่มตรวจสอบและประเมินผลแหล่งแร่ สรส. ร่วมกับหน่วยเจาะ ฝ่ายโยธา กองวิศวกรรมบริการ ได้เจาะสำรวจศึกษาการเกิดโพรงเกลือใต้ดิน เพื่อหาขอบเขตของหลุมยุบ และเฝ้าระวังภัยหลุมยุบ ความลึก 100-200 เมตร และทำเป็นบ่อสังเกตการณ์ ศึกษาลักษณะการไหลเวียนของน้ำเกลือ เจาะสำรวจบริเวณนาเกลือตำบลหนองกวั่ง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร 18 หลุม บริเวณโรงเรียนบ้านจำปาดง จังหวัดสกลนคร 1 หลุม บริเวณพื้นที่ต้มเกลือบ้านคอกม้า จังหวัดมหาสารคาม 1 หลุม และบริเวณนาเกลือบ้านทุ่ง จังหวัดอุดรธานี 13 หลุม รวม 33 หลุม ความลึกรวม 2,615 เมตร ผลการเจาะพบหินตะกอนวางตัวอยู่ด้านบน มีโดมเกลืออยู่ใต้นาเกลือ ความลึกประมาณ 30-40 เมตร และ 127 เมตร พบแร่แอนไฮไดรต์และแร่ยิบซั่มแทรกอยู่ในบริเวณโดยรอบโดมเกลือ เกลือหินมีหลายสี ส่วนใหญ่มีสีขาว สีเทาดำ และใสไม่มีสี ผลการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เข้าใจลักษณะการเกิดหลุมยุบ หลุมยุบมีลักษณะเกือบเป็นวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 เมตร มักเกิดบริเวณบ่อสูบน้ำเกลือ และที่อื่นที่มีการไหลเข้าของน้ำบาดาลจืดเข้าหาบ่อสูบน้ำเกลือ โดยโพรงเกลือก่อตัวที่ความลึกประมาณ 30-50 เมตร สามารถทำนายขอบเขตหลุมยุบ ที่เกิดเฉพาะบริเวณบนยอดโดมเกลือเท่านั้น บริเวณโดยรอบโดมเกลือไม่มีความเสี่ยงจากภัยหลุมยุบ สามารถวางแนวทางเหมาะสมในการสำรวจโพรงเกลือในพื้นที่อื่น ได้ภาพของโดมเกลือ ในพื้นที่ทั้ง 4 พื้นที่ และเสนอมาตรการควบคุมการสูบน้ำเกลือป้องกันภัยหลุมยุบ (เอกสารเเนบ) 

 

 

วันที่ปรับปรุง:2556-05-15

เอกสารแนบ: รายงานการเจาะสำรวจโพรงเกลือและหลุมยุบ
 
 

Visitor Number
5252635
 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
::
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ::
75/10 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร.0-2202-3554, 0-2202-3557 โทรสาร.0-2202-3555
[ที่ตั้งกรมฯ]