การจัดสรรค่าภาคหลวงแร่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น*

     ค่าภาคหลวงแร่คือภาษีที่เรียกเก็บจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรแร่  โดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เป็นผู้ดำเนินการจัดเก็บ และส่งเป็นรายได้ของรัฐมาโดยตลอด ต่อมากระทรวงมหาดไทยมีนโยบายในการกระจายอำนาจให้แก่สู่ท้องถิ่น เพื่อให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่นในการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น* และเพื่อให้บริหารจัดการงบประมาณในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง จึงได้มีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)ขึ้น 


รายละเอียดบทความ

การจัดสรรค่าภาคหลวงแร่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น* 
 1. ความเป็นมา
 ค่าภาคหลวงแร่คือภาษีที่เรียกเก็บจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรแร่  โดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เป็นผู้ดำเนินการจัดเก็บ และส่งเป็นรายได้ของรัฐมาโดยตลอด ต่อมากระทรวงมหาดไทยมีนโยบายในการกระจายอำนาจให้แก่สู่ท้องถิ่น เพื่อให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่นในการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น* และเพื่อให้บริหารจัดการงบประมาณในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเองจึงได้มีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)ขึ้น ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537  บัญญัติให้สภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทหรือตามเกณฑ์รายได้เฉลี่ยในวรรคสองอาจจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้โดยทำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทย  และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  ในประกาศนั้นให้ระบุชื่อและเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลไว้ด้วยและในมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดที่มาแห่งรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล โดยกำหนดให้ค่าภาคหลวงแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ในองค์การบริหารส่วนตำบลใด เมื่อได้มีการจัดเก็บตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นแล้ว ให้จัดสรรให้องค์การบริหารส่วนตำบลนั้นตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง (พ.ศ. 2539)
 2. การจัดสรรค่าภาคหลวงแร่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  2.1 การจัดสรรค่าภาคหลวงแร่ให้องค์การบริหารส่วนตำบล ตามกฎกระทรวง
(พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537(มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่  24 มิถุนายน 2539) ให้จัดสรรค่าภาคหลวงให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีการจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่นั้นให้อัตราร้อยละสามสิบ และให้จัดสรรค่าภาคหลวงแร่ที่จัดเก็บสำหรับแร่ได้จากประทานบัตร ที่มีพื้นที่ตามประทานบัตรอยู่ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหลายแห่งให้จัดสรรค่าภาคหลวงแร่ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลนั้นๆแห่งละเท่ากัน
  2.2 ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินกระจายอำนาจสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) โดยออกกฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2541)  ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540(มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม  2541)ให้จัดสรรค่าภาคหลวงแร่ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีการจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่นั้นในอัตราร้อยละยี่สิบ และจัดสรรค่าภาคหลวงแร่ที่จัดเก็บสำหรับแร่ที่ผลิตได้จากประทานบัตร ที่มีพื้นที่ตามประทานบัตรอยู่ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดหลายแห่งให้จัดสรรค่าภาคหลวงแร่ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น ๆ แห่งละเท่ากัน 

*องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการจัดสรรค่าภาคหลวงแร่ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาล เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร
(โปรดดูรายละเอียดทั้งหมดตามเอกสารแนบ)

 

วันที่ปรับปรุง:2553-10-08

เอกสารแนบ: การจัดสรรค่าภาคหลวงแร่-สบส
 
 

Visitor Number
5785899
 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
::
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ::
75/10 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร.0-2202-3554, 0-2202-3557 โทรสาร.0-2202-3555
[ที่ตั้งกรมฯ]