กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
กระทรวงอุตสาหกรรมได้ถ่ายโอนภารกิจตามแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(อปท.) ในด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมืองแร่ตั้งแต่เดือนตุลาคม
2546 โดยมีภารกิจที่ถ่ายโอน 2 ภารกิจดังนี้
1.
การติดตามและตรวจสอบเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและมลพิษในการประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติแร่
พ.ศ.
2510 และกิจกรรมต่อเนื่อง
มีขอบเขตการถ่ายโอน
3
ข้อ คือ
1.1
ตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
การดำเนินงานดังกล่าวต้องได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแร่
และต้องผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจก่อน
โดยให้ปฏิบัติตามคู่มือวิธีการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เรื่องการตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมในการทำเหมืองแร่
พ.ศ.2545
(เอกสารหมายเลข 1)
1.2 ติดตามเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การดำเนินงานให้ปฏิบัติตามคู่มือวิธีการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เรื่องการติดตามเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมในการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2545
(เอกสารหมายเลข 2)
และต้องผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจก่อน
1.3
การดำเนินงานโครงการป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและโครงการฟื้นฟูพื้นที่ทำเหมืองแร่แล้ว
การดำเนินงานดังกล่าวองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการโดยตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการได้เอง
ทั้งนี้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่จะเป็นผู้ให้คำปรึกษา
2.
การดำเนินการตามกฎหมาย
มีขอบเขตการถ่ายโอน 2 ข้อ คือ
2.1
การมีส่วนร่วมให้ความเห็นในการพิจารณาอนุญาตการประกอบกิจการ
การดำเนินงานให้ปฏิบัติตามคู่มือวิธีการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เรื่อง การให้ความเห็นในการพิจารณาอนุญาตประทานบัตรเหมืองแร่ พ.ศ.2545
(เอกสารหมายเลข 3)
และต้องผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจก่อน
2.2 การให้ความเห็น/คำแนะนำ
และการรายงานข้อเท็จจริงต่อผู้มีอำนาจตามกฎหมาย
การดำเนินงานดังกล่าวต้องได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแร่
และต้องผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจก่อน
โดยให้ปฏิบัติตามคู่มือวิธีการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เรื่องการให้ความเห็น/คำแนะนำ
และการรายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาการร้องเรียนจากการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2545
(เอกสารหมายเลข 4)
ทั้งนี้ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ได้จัดทำคู่มือวิธีปฏิบัติงานตามภารกิจที่ถ่ายโอนไว้แล้ว
นอกจากนี้ได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ อปท.
เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510
ตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมที่ 467/2546 ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2546
แก้ไขเพิ่มเติม ตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมที่ 127/2547
ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2547 โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่
ที่ได้รับการแต่งตั้งดังกล่าวมีอำนาจและหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรา 70
แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 เฉพาะในเขตท้องที่ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่
โดยให้มีหน้าที่เฉพาะตามภารกิจที่มอบหมายไว้ข้างต้น
ในการถ่ายโอนภารกิจดังกล่าว
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ได้จัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมและเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานให้แก่เจ้าหน้าที่ของ
อบต.
และเทศบาลที่มีประทานบัตรและคำขอประทานบัตรเหมืองแร่ตั้งอยู่มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบัน
สำหรับการดำเนินงานตามภารกิจที่ถ่ายโอนนั้นกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ได้กำหนดกรอบระยะเวลาในการรายงานและการจัดส่งรายงานการดำเนินงานของ
อปท. โดยให้จัดส่งให้เจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำท้องที่ทราบ
(สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด) หลังจากนั้น
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดจะพิจารณาและแก้ไขปัญหาเบื้องต้น (ถ้ามี)
และจัดส่งรายงานและ ผลการแก้ไข (ถ้ามี)
มายังกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ซึ่งสำนักบริหารและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเป็นผู้รับผิดชอบดูแลข้อมูลดังกล่าว
รวมทั้งได้ดำเนินการติดตามให้คำปรึกษาและแนะนำแก่
อปท. โดยกลุ่มส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้แก่
1. นางสัณห์สุดา
ไชยสิงห์ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อม
2. นายอนุ กัลลประวิทย์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
8ว
3. นางนัยนา กัลลประวิทย์
นักวิชาการสิ่งแวดล้อม 7ว
4. นายอนันต์
ช่วยสกุล ช่างเหมืองแร่ 5
5. นางสาววราภรณ์
รมเพ็ง นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
นอกจากนั้น ยังได้มีการพัฒนาแนวทางการรายงาน
โดยให้สามารถรายงานผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งขณะนี้อยู่ในระยะทดลอง
ดังนั้นหาก อปท. ใดประสงค์จะส่งรายงานก็สามารถทำได้
แต่ทั้งนี้ต้องส่งสำเนารายงานให้ด้วย
|