การสร้างเครือข่ายเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม

     การสร้างเครือข่ายเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ ของผู้ที่เกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม  คือ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ประชาชน  และผู้ประกอบการ


รายละเอียดบทความ

     กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแลการประกอบการอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานได้ดำเนินการในรูปแบบต่างๆ เพื่อไม่ให้การประกอบการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชน โดยการกำกับดูแล การประกอบการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ และส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการให้มีการนำเทคโนโลยีและระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่จะช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการประกอบการได้ นอกจากนั้น กพร. ยังได้นำแนวคิดในเรื่องการสร้างเครือข่ายมาใช้  โดยเน้นให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับดูแล และเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของตนเอง รวมทั้งพัฒนาความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการประกอบการของอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานให้กับประชาชน อีกทั้งยังสร้างความร่วมมือและความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างผู้ประกอบการ และประชาชนในพื้นที่เพื่อลดข้อขัดแย้งและร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้นๆ ได้อย่างเหมาะสม     (ดังเอกสารเเนบ)
 

วันที่ปรับปรุง:2554-05-25

เอกสารแนบ: การสร้างเครือข่ายเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม 54 แก้ไขให้เอ๋23พค54
 
 

Visitor Number
5782176
 

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
::
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ::
75/10 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร.0-2202-3554, 0-2202-3557 โทรสาร.0-2202-3555
[ที่ตั้งกรมฯ]